วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรมแกรม+Flowchart 5 ข้อ

ข้อ 1. จงเขียนวิเคราะห์งานเพื่อโปรมแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส
1.1วัตถุประสงค์
คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส
1.2ผลลัพธ์(Output)

Input Width = ..................
Input Height = ..................

Area = ..................


1.3ข้อมูลนำเข้า (Input)
ได้แก่ ความยาวของด้านและความสูงของด้าน

1.4ชื่อตัวแปรที่ใช้

Width หมายถึง ความยาวของด้าน

Height ,, ความสูงของด้าน
Area ,, พื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส

1.5ลำดับงาน

- ป้อนข้อมูลความยาวของฐาน
- ป้อนข้อมูล ความสูง
- คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส โดย area = width*height
- แสดงผลลัพธ์
- จบการทำงาน


เขียนผังลำดับงาน (Flowchart)





ข้อ2.จงเขียนวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรมแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

2.1วัตถุประสงค์
คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

2.2ผลลัพธ์(Output)

Input Width = ..................

Input Height = ..................

Area = ..................


2.3ข้อมูลนำเข้า (Input)
ได้แก่ ความยาวของด้านและความกว้างของด้าน

2.4ชื่อตัวแปรที่ใช้

Width หมายถึง ความยาวของด้าน
Height ,, ความกว้างของด้าน
Area ,, พื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส

2.5ลำดับงาน

- ป้อนข้อมูลความยาวของฐาน
- ป้อนข้อมูล ความสูง
- คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส โดย area = width*height
- แสดงผลลัพธ์
- จบการทำงาน

เขียนผังลำดับงาน (Flowchart)




ข้อ3. จงเขียนวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรแกรมคำนวณหาอายุจากพ.ศ.เกิด

3.1วัตถุประสงค์

คำนวณหาอายุจากพ.ศ.เกิด

3.2ผลลัพธ์(Output)
Input Present = ..................

Input Birthday = ..................

Age = ..................


3.3ข้อมูลนำเข้า (Input)

ได้แก่ ปีพ.ศ.เกิดและปีพ.ศ.ปัจจุบัน


3.4ชื่อตัวแปรที่ใช้

present หมายถึง พ.ศ.ปัจจุบัน

birthday ,, พ.ศ.เกิด

age ,, อายุ


3.5ลำดับงาน

- ป้อนข้อมูลพ.ศ.ปัจจุบัน

- ป้อนข้อมูล พ.ศ.เกิด

- คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส โดย age = present-birthday

- แสดงผลลัพธ์

- จบการทำงาน


เขียนผังลำดับงาน (Flowchart)




ข้อ4.จงเขียนวิเคราะห์งานเพื่อโปรมแกรมคำนวณหสน้ำหนักโดนเฉลี่ยของนักศึกษา3คน


คนที่1 น้ำหนัก 40 กก.
คนที่2 ,, 50 กก.
คนที่3 ,, 60 กก.

4.1วัตถุประสงค์

คำนวณหาน้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักศึกษา 3 คน

4.2ผลลัพธ์(Output)

Weight+1 = 40

Weight+2 = 50

Weight+3 = 60

Arerage = ....50.....

4.3ข้อมูลนำเข้า (Input)

ได้แก่ Weight1,Weight2,Weight3

4.4ชื่อตัวแปรที่ใช้

weight+1 หมายถึง น้ำหนักคนที่1

weight+2 ,, น้ำหนักคนที่2

weight+3 ,, น้ำหนักคนที่3

arerage ,, น้ำหนัก โดยเฉลี่ย ทั้ง3คน

4.5ลำดับงาน

- ป้อนข้อมูลของนักศึกษา ทั้ง3 คน
- ป้อนข้อมูล จำนวนทั้งหมด
- คำนวณหาน้ำหนักโดยเฉลี่ย arerage = ( w1+w2+w3)/3
- แสดงผลลัพธ์
- จบการทำงาน

เขียนผังลำดับงาน (Flowchart)






ข้อ5.จงเขียนวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรมแกรมคำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนโดยรับข้อมูลจาดโบนัส,เงินเดือน เช่นเงินเดือน10,000ได้โบนัส5เดือนแสดงว่าได้โบนัส50,000บาท


5.1วัตถุประสงค์

คำนวณหาเงินเดือนจากโบนัส


5.2ผลลัพธ์(Output)


Input Salary = 10,000 บาท

Input Bonus = 5 เดือน

Month = 50,000 บาท


5.3ข้อมูลนำเข้า (Input)

ได้แก่ salary,bonus


5.4ชื่อตัวแปรที่ใช้

bonus หมายถึง จำนวนเงินโบนัสที่ได้รับ

salary ,, เงินเดือน

month ,, โบนัส


5.5ลำดับงาน

- ป้อนข้อมูลจำนวนเงินเดือน
- ป้อนข้อมูล โบนัสที่ได้รับ
- คำนวณหาจำนวนเงินโบนัส bonus = salary*month
- แสดงผลลัพธ์
- จบการทำงาน

เขียนผังลำดับงาน (Flowchart)





















วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1

1. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง ?
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้




ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน


คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น



มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )




ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



ได้ข้อมูลมาจาก http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm

2.คอมพิวเตอร์เเบบฝังคืออะไร ?



คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embeddded computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม เป็นต้น สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้แล้วหลายแห่ง เช่น - ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มี 2 เครื่องสำหรับให้บริการมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยราชการต่าง ๆ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี 1 เครื่อง สำหรับให้บริการทางด้านวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ - กรมอุตุนิยมวิทยา มี 1 เครื่อง ใช้ในการพยากรณ์อากาศ ฉะนั้นสรุปได้ว่า ข้อแตกต่างระหว่างไมโครคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่จะแตกต่างกันในด้านความสามารถในการเก็บข้อมูล และความเร็วในการทำงานเนื่องจาก มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมมีหน่วยความจำขนาดใหญ่เก็บข้อมูลได้ยาก และสามารถประมวลผลโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในเวลาที่รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถประมวลผลกับโปรแกรม หลาย ๆ โปรแกรมในเวลาพร้อมกันและผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ คนสามารถใช้เครื่องพร้อม ๆ กันเวลาเดียวกันได้














3.ข้อมูลเเละสารสนเทศต่างกันอย่างไร ?



ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากกระบวนการการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองมีการเทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที



สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ

ตัวอย่าง ข้อความบนระเบียนประวัติของนักเรียนทำให้ทราบว่านาย แข็งขัน เป็นนักเรียนชาย เกิดวันที่ 12 เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช 2525 ดังนั้นข้อความนาย แข็งขัน ชาย และ 12 ม.ค. 2525 ที่อยู่บนระเบียนประวัตินักเรียนจึงเป็นข้อมูล
จำนวนนักเรียนที่ได้จากการแจกแจงข้อมูลตามปีเกิดจะเป็นสารสนเทศที่เกิดจากการนำข้อมูลไปทำการประมวลผลaaaaaในบางครั้งผลสรุปจากการประมวลผลข้อมูลแบบหนึ่ง อาจนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประมวลผลอีกแบบหนึ่งก็ได้ เช่น ในการหาระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาต่าง ๆ ของนักเรียนจะต้องเริ่มจากการหาระดับคะแนนของแต่ละวิชาของนักเรียน จากข้อมูลคะแนนของนักเรียนแล้วหาระดับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน จากข้อมูลข้อมูลที่เป็นระดับคะแนนระดับวิชาซึ่งเป็นสารสนเทศจากการหาระดับคะแนน



ได้ข้อมูลมาจาก http://gotoknow.org/blog/wanita/31098




4.VLSI คืออะไรสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร ?









วีแอลเอสไอ ย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มาก ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra large scale integraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง)








มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์คือ

สามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่างๆ ขณะเดียวกันพัฒนาการ ของฮาร์ดดิสก์ก็ทำให้ฮาร์ดดิสก์มีขนาดเล็กลงและมีความจุเพิ่มขึ้นแต่มีราคาถูกลงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดได้ตั้งแต่อยู่ในอุ้งมือที่เรียกว่า ปาล์มทอป (plam top) ขนาดโน๊ตบุ๊ค (note book) และคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะ (desk top)




ได้ข้อมูลมาจาก http://www.babylon.com/definition/VLSI/Other






5.นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง ?



- หาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ

-เล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลาย

-รับข่าวสารทางอีเมล

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ชิ้นงานที่1

งานชิ้นที่1





ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์




การจัดแบ่งประเภทของ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะอาศัยคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความเร็วของการประมวลผล และขนาดความจำ ของหน่วยบันทึกข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท ได้แก่








Supercomputers


Mainframe Computers

Minicomputers

Microcomputers










ทั้งนี้คุณสมบัติที่นำมาแบ่งประเภทประกอบด้วย Word size - Word ในความหมายของคอมพิวเตอร์ก็คือ "คำ" หรือ "ตัวอักษร" อันเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่รับ หรือส่งเข้าสู่ระบบ โดยจะนับเป็นจำนวนครั้งละกี่บิต ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จะสามารถรับ/ส่งข้อมูลจำนวนบิตมากกว่าตามไปด้วย เช่น เครื่องที่มี Word ขนาด 32 บิต ย่อมรับ/ส่งข้อมูลได้มากกว่าเครื่อง 16 บิต และเรียกขนาดของ Word ว่า 16-bit word หรือ 32-bit word นั่นเองProcessor speed - หมายถึงความเร็วในการประมวลผลของ Processor ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายหน่วยMHz ย่อมาจาก Megahertz เป็นหน่วยที่วัดการงานของคอมพิวเตอร์ในอัตรา Million of clock cycle เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็ว 100MHz จะใช้เวลาในการปฏิบัติงานเศษ 1 ส่วน 100,000,000 วินาที อย่างไรก็ตามเครื่องที่มี Word size ต่างกัน ก็จะมีความเร็วต่างกันไปด้วย เช่น เครื่อง 32-bit 200MHz ทำงานช้ากว่าเครื่อง 64-bit 200MHzMIPS ย่อมาจาก Million of instructions per second ใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดกลางขึ้นไปFLOPS ย่อมาจาก Floating point operations per second เป็นหน่วยวัดสำหรับ Supercomputer โดยวัดจากงานที่ปฏิบัติ และเน้นงานด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลักRAM - การจำแนกประเภทโดยความจุของ RAM ซึ่งมีหน่วยตั้งแต่ KB (Kilobytes), MB (Megabytes), GB (Gigabytes) และ TB (Terabytes)












ได้ข้อมลูมาจาก http://www.nectec.or.th/courseware/computer/index.html


วันที่13-06-51


งานชิ้นที่ 2

การเขียนโปรแกรมภาษา C เบื้องต้น (Introduction to C Programming)





1. พื้นฐานโปรแกรมภาษา C (Introduction to C Programming) ก่อนอื่นของแนะนำพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กันซักนิด ก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้ภาษา C กัน หน่วยสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ก็คือ หน่วยประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU โดยปกติ CPU จะมีภาษาของตัวเองที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะเป็นภาษาที่ประกอบไปด้วยเลขฐานสองมากมาย ดังนั้นการที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาเครื่องโดยตรงนั้นจึงทำได้ยาก จึงได้มีการพัฒนาตัวแปรภาษาเครื่องที่เรียกว่า โปรแกรมภาษาระดับสูงขึ้นมา หรือที่เรียกว่า High Level Languages โดยภาษาในระดับสูงเหล่านี้ จะมีลักษณะรูปแบบการเขียน (Syntax) ที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายต่อการสื่อสารกับผู้พัฒนา และถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน และจะเปลี่ยนคำสั่งจากผู้ใช้งาน ไปเป็นเป็นภาษาเครื่อง เพื่อที่จะควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ต่อไป ตัวอย่างของโปรแกรมภาษาระดับสูง ได้แก่ COBOL ใช้กันมากสำหรับโปรแกรมทางด้านธุรกิจ, Fortran ใช้กันมากสำหรับการพัฒนาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพราะง่ายต่อการคำนวณ, Pascal มีใช้กันทั่วไป แต่เน้นสำหรับการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน, C & C++ ใช้ทั่วไป ปัจจุบันมีผู้เลือกที่จะใช้กันอย่างแพร่หลาย, PROLOG เน้นหนักไปทางด้านงานประเภท AI และ JAVA ใช้ได้ทั่วไป ปัจจุบันเริ่มมีผู้หันมาสนใจกันมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคราวนี้เราลองมาเตรียมตัวกันซักนิก ก่อนที่จะลงมือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขั้นแรก เราต้องศึกษารูปแบบความต้องการของโปรแกรมที่จะพัฒนา จากนั้นก็วิเคราะห์ถึงปัญหาตลอดจนวิธีการแก้ปัญหา จากนั้นจึงนำเอาความคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ไปเขียนในรูปแบบของโปรแกรมภาษาในระดับสูง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ Source Program หรือ Source Code จากนั้นเราก็จะใช้ Complier ของภาษาที่เราเลือก มาทำการ Compile Source code หรือกล่าวง่ายๆ คือแปลง Source code ของเราให้เป็นภาษาเครื่องนั่นเอง ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผลที่ได้ เราจะเรียกว่า Object code จากนั้น Complier ก็จะทำการ Link หรือเชื่อม Object code เข้ากับฟังก์ชันการทำงานใน Libraries ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งาน แล้วนำไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วเราก็จะสามารถ Run เพื่อดูผลของการทำงานโปรแกรมได้ หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาด เราก็จะทำการแก้ หรือที่เรียกกันในภาษาคอมพิวเตอร์ว่า การ Debug นั่นเองภาษา C เป็นโปรแกรมภาษาระดับสูง ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1972 ที่ AT&T Bell Lab เราสามารถใช้ภาษา C มาเขียนเป็นคำสั่งต่างๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และกลุ่มของคำสั่งเหล่านี้ เราก็เรียกกันว่า อัลกอริธึม ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า อัลกอริธึม ว่าเป็น “A precise description of a step-by-step process that is guaranteed to terminate after a finite number of steps with a correct answer for every particular instance of an algorithmic problem that may occur.” สำหรับ Compiler ภาษา C ที่มีในปัจจุบัน มี 2 ค่ายใหญ่ๆ ที่มีผู้คนสนใจใช้กันมากได้แก่ Microsoft และ Borland การใช้งาน Compiler ทั้งสองตัวนี้ สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก เราจึงจะมาเริ่มต้นที่การเขียนโปรแกรมในภาษา C กันเลย เราลองมาเริ่มจากตัวอย่างการเขียน ภาษา C แบบ ง่ายๆ กันก่อนกับโปรแกรม Hello World#include main(){printf("Hello World !! ");บรรทัดแรก #include เป็นการบอกว่าให้ทำการรวม Header file ที่ชื่อว่า stdio.h (.h = header) ซึ่งเป็น header ที่เกี่ยวข้องกับการรับและให้ข้อมูล (Standard Input Output) นอกจาก stdio.h แล้ว ก็ยังมี Header อื่นๆ ที่ผู้พัฒนาสามารถที่จะเรียกใช้งาน Function ที่จำเป็นจาก Header นั้นๆ ได้ อาทิเช่น





รู้จัก Header File กันไปล่ะ คราวนี้ เราลองมาดูบรรทัดถัดไปกัน ก็คือ ฟังก์ชัน main() จะเป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรม และโปรแกรมทุกโปรแกรมในภาษา C จะต้องมี Function main() นี้ โดยส่วนมาก เราจะใช้ Function main() ในการกำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ ของโปรแกรม จากนั้นจึงเข้าสู่ Function ต่างๆ ที่ผู้พัฒนา ได้กำหนดขึ้นไว้บรรทัดถัดมาจะเป็นเครื่องหมาย { ซึ่งเป็นเครื่องหมายบ่งบอกขอบเขตของ Function โดยขอบเขตของฟังก์ชัน จะเปิดและปิดโดยใช้เครื่องหมายเปิด { และเครื่องหมายปิด } ตามลำดับ ภายใน Function main() จะมีคำสั่ง (Statement) printf("Hello World !! "); ซึ่ง printf เป็น Function ในภาษา C ทำหน้าที่ให้โปรแกรม ทำการแสดงผลออกทางหน้าจอว่า Hello World !! และทุกครั้ง ผู้พัฒนาจะต้องทำการจบคำสั่งหรือ Statement ด้วยเครื่องหมาย semi-colon ; ดังนั้นรูปแบบของการเขียนโปรแกรม จึงเขียนออกมาในรูปแบบดังนี้// ข้อความที่อยู่ข้างหลังเครื่องหมาย // จะเป็นคำอธิบายโปรแกรม #include void main() { constant declarations; // การกำหนดค่าคงที่ต่างๆ variable declarations; // การกำหนดตัวแปรต่างๆexecutable statements; // คำสั่งการทำงานของโปรแกรม}



การอ่านข้อมูลและการแสดงผล (Input & Output)
รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน printf จะทำการพิมพ์ในรูปแบบที่ เริ่มต้นด้วย Format ที่ต้องการจะพิมพ์ และตามด้วยตัวแปรที่ต้องการพิมพ์ ดังนี้printf( const char *format [, argument]... );สำหรับการนำข้อมูลเข้าก็เช่นกัน จะใช้ฟังก์ชัน scanf ซึ่งจะเป็นฟังก์ชันสำหรับอ่านข้อมูลจากคีย์บอร์ด และจะนำข้อมูลที่ User ทำการพิมพ์ไปเก็บไว้ใน argument โดยแต่ละ argument จะต้องเป็นตัวแปรที่เรียกว่า pointer (รายละเอียดจะได้กล่าวต่อไป) และมีชนิดที่ตัวแปรที่สัมพันธ์กับที่ได้กำหนดไว้ใน Format รูปแบบการใช้งานของฟังก์ชัน scanf สามารถเขียนได้ดังนี้


scanf( const char *format [,argument]... );





ได้ข้อมลูโดย ดร.จันทร์จิรา สินทนะโยธิน, วิศรุต พลสิทธิ


วันที่14-06-51